องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำคำ

Numkham Subdistrict Administrative Organization

ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ


ออนไลน์ : 3

หัวข้อ :: ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ

ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำคำ



ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1  :  ส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ครบวงจร
เป้าประสงค์   "รายได้จากการขายสินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น"
ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
1)  ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของจำนวนครัวเรือนเกษตรกรปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน  ร้อยละ 5  ต่อปี      
2) ผลผลิตต่อไร่ของผลิตผลทางการเกษตร (ข้าวหอมมะลิ) เพิ่มขึ้น 5 กก./ไร่/ปี         
3) ร้อยละของมูลค่าการส่งออกสินค้าข้าวหอมมะลิอินทรีย์เติบโตเฉลี่ยเพิ่มขึ้น  ร้อยละ  3  ต่อปี  
4) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ร้อยละ 3 ต่อปี 
กลยุทธ์ 
1) ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิต การแปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัย และข้าวหอมมะลิอินทรีย์ให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน     
2) ส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพการผลิตด้านการเกษตร
3) ส่งเสริมและเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์สินค้าปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ทั้งในและต่างประเทศ
โครงการหลัก 
1) โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์  
2) โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิปลอดภัย
3) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิอินทรีย์และข้าวหอมมะลิปลอดภัย
4) โครงการเพิ่มศักยภาพการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย
5) โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิตพืชและสัตว์เศรษฐกิจ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  2  :  ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และการค้า การท่องเที่ยว 
เป้าประสงค์ 

  " ประชาชนมีภูมิปัญญาวัฒนธรรม  ประเพณีอีสานที่เข้มแข็ง  มีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น "
ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
1) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้ประชาชนจากการท่องเที่ยว ร้อยละ 2 ต่อปี 
2) จำนวนกิจกรรมทางการท่องเที่ยวได้รับการส่งเสริมและพัฒนา 10 กิจกรรมต่อปี
3) จำนวนผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน 5 ดาว เพิ่มขึ้น  2 ผลิตภัณฑ์ต่อปี
4) ถนนภายในจังหวัดได้รับการซ่อมสร้าง 50 กม. ต่อปี
5) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น  ร้อยละ 3 ต่อปี
กลยุทธ์ 
1) ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเพณีวิถีอีสาน
2) ส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
4) ส่งเสริมและพัฒนาการค้า และบริการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน
โครงการหลัก 
1) โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการท่องเที่ยว และการค้า การลงทุน 
2) โครงการยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว และด้านการค้าสู่สากล
3) โครงการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีตามวิถีอีสานสืบสานตำนานสู่การท่องเที่ยวยโสธร

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 :  ยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน
เป้าประสงค์ 

“ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความมั่นคง  มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง และสังคมมีความสงบเรียบร้อย”
ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 
1) ร้อยละของเด็กและเยาวชนได้รับการเรียนรู้พัฒนาทักษะชีวิตตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ร้อยละ 95
2) จำนวนชุมชน หมู่บ้านที่มีแหล่งเรียนรู้/ชุมชนต้นแบบ (ตามยโสธรโมเดล) ที่สร้างโอกาสการเรียนรู้ของประชากรทุกเพศทุกวัย 27 หมู่บ้านต่อปี
3) จำนวนศูนย์พัฒนาครอบครัวในตำบลที่ได้รับการพัฒนาและมีความเข้มแข็งตามเกณฑ์  78  ศูนย์
4) ร้อยละ 60 ของครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ๓๐,๐๐๐บาท/คน/ปี 
5) จำนวนของหมู่บ้านส่งเสริมสุขภาพต้นแบบผ่านเกณฑ์ จำนวน 443 หมู่บ้าน 
6) จำนวน อปท. ที่จัดสวัสดิการและดูแลผู้ด้อยโอกาสได้อย่างทั่วถึง 87 แห่ง
7) ร้อยละ 88.5 ต่อปี ของการจับกุมผู้กระทำผิดในคดี 5 กลุ่ม 
8) ร้อยละของระดับความพึ่งพอใจของผู้รับบริการต่อหน่วยงานของรัฐ ร้อยละ 85
กลยุทธ์ 
1) พัฒนาคน และเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้  
2) เสริมสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการชุมชน
3) ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาระบบสุขภาพ  สวัสดิการ  และการดูแลผู้ด้อยโอกาส
4) เพิ่มศักยภาพในการรักษาความมั่นคงภายใน   และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5) ส่งเสริมบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีให้มีประสิทธิภาพ
โครงการหลัก 
1) โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
2) โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3) โครงการดูแลรักษาความสงบสุขและการบริหารจัดการตามหลักเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากตามหลัก
ธรรมาภิบาล

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  4  :  อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์ 

"สิ่งแวดล้อมดี มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เพิ่มพูนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ราษฎร์รัฐร่วมพัฒนา"
ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 
1) จำนวนแหล่งน้ำที่ได้รับการปรับปรุง ฟื้นฟูให้สมบูรณ์  50 แห่งต่อปี
2) จำนวนพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ 10,000 ไร่ต่อปี
3) จำนวนพื้นที่ป่าได้รับการฟื้นฟูต่อปี (ไร่) 500 ไร่/ปี
4) ร้อยละของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองประชาชนที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ร้อยละ 100 
กลยุทธ์ 
1) บริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ
2) บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม
โครงการหลัก 
1) โครงการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ 
2) โครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วันที่ : 18 พฤศจิกายน 2562   View : 1049